ทำความรู้จักเครื่องปั๊มน้ำนมมีกี่ประเภท เลือกแบบไหนให้เหมาะกับคุณแม่?

เครื่องปั้มน้ำนมมีกี่ประเภท

ทำความรู้จักเครื่องปั๊มน้ำนมมีกี่ประเภท เลือกแบบไหนให้เหมาะกับคุณแม่?

     คุณแม่ทุกคนไม่ว่าจะมือใหม่หรือที่เคยมีประสบการณ์มาแล้ว ต่างก็มีความตั้งใจอยากจะเลี้ยงลูกน้อยให้ดีที่สุด โดยเฉพาะเรื่องการให้นม แต่เมื่อไม่มีเวลาเพียงพอ ทางเลือกการนำเอาเครื่องปั๊มน้ำนมแบบมือหรือจะเป็นที่ปั๊มแบบไฟฟ้ามาใช้ เป็นเครืองทดแทนให้ลูกน้อยได้กินนมแม่ ซึ่งดีกว่านมผงชนิดเทียบไม่ติด ไม่ว่าจะเป็นนมผงยี่ห้อไหนดี ๆ ก็ตาม เทียบไม่ได้เลยกับนมแม่ ซึ่งมีสารอาหารที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก โดยเฉพาะวัยทารกแรกเกิด คุณแม่ท่านไหนที่อยากลองเปลี่ยนมาใช้ที่ปั๊มนม ลองมาดูกันดีกว่าว่ามีกี่แบบให้เลือก แล้วแบบไหนที่เหมาะสมกับการใช้งานของตัวเองมากที่สุด?

เข้าใจก่อนซื้อ เครืองปั๊มน้ำนมมีกี่แบบ?

     ถ้าแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ จะแบ่งเป็นปั๊มมือและปั้มไฟฟ้าที่ใช้งานไฟบ้านทั่วไป โดยมีข้อแตกต่างกันตามชื่อเลยนั่นก็คือ

  1. เครื่องแบบมือ – เครืองปั๊มชนิดนี้ใช้ระบบการทำงานแบบ manual นั่นก็คือใช้มือของเรานี่แหละในการออกแรงบีบเพื่อกระตุ้นให้น้ำนมไหลออกมาจากเต้า ถ้าย้อนกลับไปสมัยก่อนมีแม้กระทั่งเครื่องทุ่นแรงด้วยการใช้เท้าเหยียบเพื่อให้คันโยกทำงานก็มี ซึ่งการบีบด้วยมือจะต้องปั้มอยู่ตลอดเวลาจนกว่าจะเสร็จ แต่สามารถควบคุมความแรงได้ด้วยตัวเอง เพราะคุณแม่ก็รู้สึกตัวอยู่ตลอด ถ้าเริ่มเจ็บก็แค่ผ่อนความเร็วลง เหมาะสำหรับใช้ในบ้านและพกพาได้สะดวก
  2. เครื่องแบบไฟฟ้า – ระบบการทำงานเครื่องแบบไฟฟ้า แน่นอนว่าตามชื่อเลยก็คือการเชื่อมต่อกับไฟบ้าน มีหน้าจอสั่งการทำงานอัตโนมัติ แค่กดปุ่มและตั้งค่าที่ต้องการปั๊ม จากนั้นกรวยดูดน้ำนมก็จะทำหน้าที่ตามคำสั่ง โดยไม่ต้องคอยเอามือไปบีบช่วยแต่อย่างใด ซึ่งเครื่องปั๊มนมยี่ห้อไหนดี ๆ จะมีฟังก์ชั่นที่ลดและเพิ่มแรงดูดได้ บางรุ่นก็มีโหมดกระตุ้นน้ำนมเพิ่มเข้ามาด้วย ก็แล้วแต่ว่าจะมีความจำเป็นกับคุณแม่มากน้อยแค่ไหน ฟังก์ชั่นเยอะ ก็มีราคาสูงขึ้นตามคุณภาพ

ปั๊มนมแบบไหนที่เหมาะกับคุณแม่?

     เอาจริง ๆ แล้วถ้ามองในแง่ความสะดวกสบายระบบปั๊มไฟฟ้าย่อมดีกว่า เพราะไม่ต้องมาบีบอยู่ตลอดเวลาให้เมื่อยมือ เพราะจะต้องมีขั้นตอนกระตุ้นน้ำนมก่อน แล้วตามด้วยขั้นตอนบีบน้ำนมให้ออกมา ก็ใช้เวลาหลายนาทีอยู่เหมือนกัน

     อย่างไรก็ตาม ไม่มีข้อดีหรือข้อเสียไปซะทั้งหมด เพราะขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์และวัตถุประสงค์ในการใช้งาน สถานการณ์ส่วนใหญ่ ถ้าเอาตามความเหมาะสม หากเป็นคุณแม่ที่เลี้ยงลูกอยู่บ้านเป็นหลัก อาจจะเลือกใช้เป็นปั๊มมือ เพื่อทำหน้าที่ระบายน้ำนมที่คัดเต้า ช่วยไม่ให้คุณแม่เจ็บหน้าอก เก็บเป็นสต็อกให้ลูกน้อยได้ในบางครั้งที่น้ำนมอาจไม่มี แต่ในกรณีที่เป็นคุณแม่ที่ต้องออกไปทำงาน แนะนำให้เลือกใช้เป็นเครื่องปั๊มนมไฟฟ้าแบบอัตโนมัติจะดีกว่า เพราะสะดวกและประหยัดเวลา กระตุ้นน้ำนมได้ดี มีฟังก์ชั่นหลากหลายที่สามารถตั้งค่าด้วยตัวเองได้ แต่ถ้าหากไม่ค่อยได้ใช้งานบ่อย ๆ ก็เน้นเป็นปั๊มมือ หรือเครื่องปั้มไฟฟ้าขนาดเล็กก็ได้

ฟังก์ชั่นที่ปั้มน้ำนมแบบไหนที่คุณแม่ควรเลือก

     การเลือกอุปกรณ์เหล่านี้ไม่ใช่มองแค่ราคาและความสะดวกสบายเท่านั้น แต่ให้ดูที่มาตรฐานและความปลอดภัยร่วมด้วย วัสดุหลักที่สัมผัสกับน้ำนม โดยเฉพาะพลาสติกที่เป็นขวดเก็บน้ำนมที่ถูกปั๊มออกมาจะต้องเป็นประเภท Food Grade ไม่เป็นพลาสติกที่ผสมสาร BPA มีความสามารถในการทนความร้อนได้สูง เพราะเมื่อซื้อมาใช้งานจะต้องทำความสะอาด และนึ่งด้วยน้ำร้อนเพื่อกำจัดเอาเชื้อโรคและสิ่งสกปรกออกไป ให้อุปกรณ์สะอาดมากที่สุด ถ้าเป็นแบบไฟฟ้าให้สังเกตเพิ่มว่ามีระบบการตั้งเวลาหรือ, หน้าจอการแสดงผล ปุ่มกดการทำงานที่ง่าย มองเห็นได้ชัด และระดับเสียงในขณะเปิดทำงาน จะต้องไม่ดังจนเกินไป จะวางแผนซื้ออุปกรณ์ที่ปั้มระบบไฟฟ้าทั้งที ก็ควรเลือกชนิดที่ไม่ต้องมาเสียน้อยเสียยากเอาภายหลัง

ขนาดของตัวเครื่อง เลือกแบบไหนดี?

     คุณแม่ต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่า หลัก ๆ แล้วจะใช้งานในบ้าน หรือใช้งานนอกบ้าน เพราะถ้าเป็นปั๊มนมมือมักจะมีขนาดไล่เลี่ยไม่ต่างกันมากนัก ก็ขึ้นอยู่กับว่าปริมาณน้ำนมที่ปั๊มแต่ละครั้งมากน้อยแค่ไหน ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีปัญหา พกติดกระเป๋าได้ไม่เกะกะ แต่สำหรับเครื่องที่เป็นระบบไฟฟ้า จะมีตั้งแต่ขนาดเล็ก กลาง ไปจนถึงขนาดใหญ่ แถมยังมีอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ต้องคอยประกอบด้วย ดังนั้นถ้าจำเป็นจะต้องใช้งานนอกสถานที่ ควรเป็นขนาดกะทัดรัด ง่ายต่อการพกพา หรือให้ดูว่าตัวเองสามารถพกพาได้ระดับไหนแบบที่ไม่รู้สึกเกะกะ

     นอกเหนือจากนี้ อย่าลืมเช็คมาตรฐานของเครื่องปั๊มนมไฟฟ้าด้วยว่าได้การรับรองที่ดีหรือไม่ ให้เลือกซื้อแบรนด์ที่ได้การันตีเรื่องคุณภาพ อ่านข้อมูลจากรีวิวของคนอื่น ๆ ก่อนตัดสินใจ เมื่อถึงขั้นตอนเลือกซื้อ ให้เช็คสภาพเครื่องว่าเป็นมือหนึ่งไม่ใช่เครื่องที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว ดูด้วยว่าเครื่องรับประกันการใช้งานกี่ปี การติดต่อกับทางแผนกดูแลยุ่งยากหรือไม่ด้วย ที่สำคัญอย่าลืมให้พนักงานทดลองเครื่องและตรวจสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ดี จะได้ไม่เกิดข้อผิดพลาดตามมา และได้คุ้มค่ากับราคาที่ซื้อ